ค้นหาภายในBlog

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การดาวน์โหลดและติดตั้ง Dev-C++

การดาวน์โหลดและติดตั้ง Dev-C++
สำหรับ Dev-C++ เป็นโปรแกรมประเภท Editor สำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาซีหรือซีพลัสพลัส (C++) ครับ มีวิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งง่ายๆ ดังนี้ครับ
1. ดาวน์โหลดได้โดยคลิก ที่นี่
2. คลิกลิงค์ดังรูปด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม



3. ดับเบิ้ลคลิกไอคอนโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาเพิ่มติดตั้ง จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างเพิ่มบอกว่าหากคุณได้ติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้แล้ว กรุณาอย่าติดตั้งอีก ซึ่งหากเรายังไม่เคยติดตั้งก็คลิกปุ่ม OK ได้เลยครับ



4. เลือกภาษาแล้วกดปุ่ม OK



5. ข้อบังคับการของใช้โปรแกรมครับ เมื่อศึกษาแล้วสามารถกดปุ่ม OK ได้เลย



6. กดปุ่ม Next ต่อไปได้เลยครับ



7. เลือก path สำหรับติดตั้งครับหรือสามารถเลือกตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ให้ก็ได้ครับ แล้วกดปุ่ม Install เพิ่มติดตั้งโปรแกรม



8. ต้องการติดตั้งโปรแกรมนี้สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์คนอื่น (user อื่น) ไม่ ถ้าใช่ให้กด Yes ครับ



9. ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ กดปุ่ม Finish ครับ



10. โปรแกรมจะทำการกำหนดค่าเริ่มต้นครับ ให้กดปุ่ม Next ครับ



11. กดปุ่ม Next ครับ



12. รอโปรแกรมทำการติดตั้ง feature ต่างๆ ครับ



13. ติดตั้ง feature เสร็จเรียบร้อยครับ กดปุ่ม OK



14. เข้าสู่หน้าต่างโปรแกรม เรามาลองทดลองใช้กันได้เลยครับ
15. ไปที่เมนู File เลือก New -> Source File เพื่อสร้างงานใหม่






















16. ทดลองเขียนโปรแกรมที่ต้องการหรือตามตัวอย่างต่อไปนี้ได้ครับ แล้วบันทึกเป็นไฟล์ .c ครับ



17. รันโปรแรกมได้โดยการกดปุ่ม F9 ครับ ถ้าโปรแกรมทำงานไม่ผิดพลาดจะปรากฎหน้าต่างดังรูป









เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ สำหรับการติดตั้งและการใช้งานโปรแกรม Dev-C เบื้องต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาคอมพิวเตอร์และการโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์และการโปรแกรม

    เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจคือสัญญาณทางไฟฟ้า แต่ในการเขียนโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานนั้นมีภาษาให้เลือกใช้หลายภาษา นักศึกษาจะต้องเข้าใจว่าเหตุใดคอมพิวเตอร์จึงสามารถประมวลผลภาษาโปนแกรมได้ และโปรแกรมที่ได้ถูกสร้างขึ้นก็มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์มาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับโปรแกรมภาษาที่นำมาใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมเทอร์โบซี ซึ่งนักศึกษาจะต้องเข้าใจขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษซีให้สามารถประมวลผลตามต้องการได้

1. โปรแกรมภาษา

ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาระดับสูง หรือ ภาษาระดับต่ำเราจะต้องแปลภาษาเหล่านั้นให้เป็นรหัสภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานได้ ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นการนำชุดคำสั่งแต่ละคำสั่งมาต่อกันให้คอมพิวเตอร์ทำงาน การเขียนชุดคำสั่งนี้ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาอะไรจะเรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) หรือ รหัสต้นฉบับ (Source Code) จากนั้นเราจะต้องแปลงให้เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้เรียกว่า Exeutable Program
ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี จะใช้ตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องที่เรียกว่า Assembler ขั้นตอนการแปลงสามารถเขียนได้ดังรูป
สำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงจะมีวิธีในการแปลงสองประเภทคือ การแปลคำสั่งทีละคำสั่งให้เครื่องทำงานทีละคำสั่ง จากนั้นจึงแปลคำสั่งบรรทัดต่อไปเช่นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเบสิก ตัวที่แปลภาษาประเภทนี้เรียกว่า อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ส่วนการแปลคำสั่งอีกแบบหนึ่งเรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) โดยมันจะมองโปรแกรมต้นฉบับทั้งหมด และแปลให้เป็นรหัสภาษาเครื่อง ถาพบข้อผิดพลาดจะแจ้งออกมา ทำให้โปรแกรมทำงานได้เร็ว สำหรับขั้นตอนการแปลภาษาทั้งสองประเภทนี้แสดงได้ ดังรูป
สำหรับภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความเร็วในการทำงานสูงใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มีโครงสร้างที่ชัดเจน เข้าใจง่าย แลสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ภาษานี้เกิดขึ้นที่ห้องปฏิบัติการเบลล์แล็บ (Bell Labs) โดยมีนายเดนนิส ริสชี่ (Dennis Ritchi) เป็นผู้พัฒนาขึ้น

2. ประเภทของโปรแกรมภาษา

    2.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

         ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (OS: Operating System) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยดูแลระบบ ร่วมทั้งติดต่อกับฮาร์ดแวร์ส่วนต่างๆ ควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด จอภาพ ระบบอ่านและบันทึกข้อมูล ทำให้ผู้ใช้และผู้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมติดต่อกับระบบเองโปรแกรมประเภทนี้ที่เรารู้จักรกันได้แก่ DOS UNIX Windows 95/98/NT

    2.2 โปรแกรมเอนกประสงค์

  โปรแกรมประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และยังเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งตรวจสอบระบบได้อีกด้วย โดยมีโปรแกรมที่ทำงานหลายประเภท เช่น โปรแกรมตรวจสอบความเร็วของคอมพิวเตอร์ โปรแกรม McAfee Virud Scan สำหรับตรวจหาไวรัส โปรแกรมตรวจสอบเครื่อง ฯลฯ เป็นต้น

    2.3 โปรแกรมประยุกต์

          โปรแกรมประเภทนี้บางครั้งจะเรียกว่า ซอร์ฟแวร์สำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเกมส์ โปรแกรมบัญชี โปรแกรมด้านดาต้าเบส โปรแกรมกราฟฟิก โปรแกรมอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นต้น

 สรุป

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรม มีทั้งภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูง ภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ส่วนภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ใกล้เคียงมนุษย์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีจะต้องใช้โปรแกรมคอมไพเลอร์ในการแปลภาษาให้เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ตัวแปรภาษาซีที่ใช้งานง่าย ได้แก่ โปรแกรมเทอร์โบซี ในการเขียนโปรแกรมนั้นผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องออกแบบขั้นตอนการพัฒนาอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรมภายหลัง ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม ได้แก่ การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา การเขียนผังงานและซูโด้โค้ด การเขียนโปรแกรม การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม และการทำเอกสารทำนุบำรุงรักษาโปแกรม